โรคนอนไม่หลับ (insomnia)

Last updated: 27 มี.ค. 2567  |  783 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคนอนไม่หลับ (insomnia)

โรคนอนไม่หลับ (INSOMNIA)

   คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท นอนหลับยาก ใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกเพศ ทุกวัย มักพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ

           อาการของผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับพบได้หลายรูปแบบ เช่น

  • ใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้
  • หลับแล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมาบ่อย
  • ตื่นแล้วไม่สามารถนอนได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน
  • อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย
  • ขาดพลังในการใช้ชีวิต

                อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการจากปัญหาอื่น ๆ ทั้งปัญหาจากสิ่งแวดล้อมหรือเกิดจากปัญหาภายในร่างกายและจิตใจ สาเหตุของการนอนไม่หลับที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปัญหาความเครียด
  • ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีแสงหรือเสียงรบกวน
  • การใช้ยาหรือสารบางอย่าง เช่น ยาแก้หวัด,ยาลดน้ำหนัก,ยาแก้หอบหืด
  • ปัญหาการทำงานเป็นกะ ทำงานไม่ตรงเวลา
  • กิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน

           การนอนไม่หลับส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ได้แก่

  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการง่วงตอนกลางวัน
  • สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน
  • อ่อนเพลีย
  • ขาดสมาธิ
  • ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น กังวล หงุดหงิด เป็นต้น

                    วิธีการรักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ต้องพึ่งยา

  • เข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาเป็นประจำ
  • สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ
  • ไม่ควรทำกิจกรรมที่ผลทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน
  • ควรปิดไฟขณะนอนหลับ
  • ไม่ควรดื่มชา,กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการนอน

           แล้วเราควรเข้านอนวันละกี่ชั่วโมง?

  • เด็กแรกเกิด: 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 1 ปี: 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 2 ปี: 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • 3-5 ปี: 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 6-13 ปี: 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 14-17 ปี: 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่: 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • ส่วนผู้สูงอายุจะมีชั่วโมงการนอนที่สั้นลง เพราะร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

            สรุป การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีความสมดุลของทางด้านร่างกายและจิตใจ หากอาการนอนไม่หลับรบกวนจิตใจ หรือมีผลกระทบต่อด้านอารมณ์และการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรปล่อยให้อาการนอนไม่หลับอยู่เป็นเวลานาน เพราะการนอนหลับที่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บและลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้